การรับรู้เทคโนโลยีใยปัจจุบันมีทั้งการเสพบทความ การอ่านหนังสือ และการดูวีดีโอ การดูวีดีโอเป็นรูปแบบการรับรู้ได้เร็วที่สุด เพราะได้รับข้อมูลทั้งภาพและเสียง รวมทั้งผู้ผลิตสื่อวีดีโอมักจะย่อยเนื้อหาจำนวนมากมาสรุปให้ผู้ชมดู/ฟัง เพื่อให้คลิปน่าดู สั่น กระชับ ไม่น่าเบื่อ
บทความนี้แนะนำ 10 ช่อง Youtube ที่ผู้เขียนติดตาม และนำมาแนะนำต่อ เพราะในมุมมองผู้เขียน หัวข้อ เนื้อหา และวิธีนำเสนออของแต่ละช่องนั่น น่าสนใจจริง ๆ โดยจะแนะนำทั้งช่องของคนไทย และช่องของต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ช่องคนไทย
ช่องแนะนำการทำ Smart Home, DIY เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รีวิวอุปกรณ์ IT, Gadget ตัวอย่างคลิปที่ผู้เขียนให้ความสนใจมีดังนี้
ความเห็นของผู้เขียน : คลิปส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ใหม่ หรือเป็นกระแส ณ ขณะนั้น ทำให้ผู้ติดตามช่องได้อัพเดทเทรนเทคโนโลยีไปในตัวด้วย และคลิปมักเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องมีความรู้ระดับหนึ่ง จึงจะทำให้เข้าใจเนื้อหาของคลิปได้ดี
ช่องแนะนำการทำระบบโซล่าเซลล์ สอนการใช้งานเครื่องมือช่างต่าง ๆ สอนพื้นฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า งานไม้ งานเชื่อมเหล็ก และงาน DIY ทั่วไป ตัวอย่างคลิปที่ผู้เขียนให้ความสนใจมีดังนี้
ความเห็นของผู้เขียน : คลิปโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เจ้าของช่องให้ความสนใจ ณ ขณะนั้น เช่น ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน รีวิวอุปกรณ์ช่างที่ซื้อมา รีวิวห้างใหม่ เป็นต้น ผู้ติดตามเสมือนได้เรียนรู้สกิลในด้านต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กับคุณสมชาย โดยที่ผู้ชมไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานมาก่อน
ช่องสาธิตการสร้างสิ่งต่าง ๆ แบบ DIY โดยส่วนใหญ่จะเป็นสร้างสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น สร้างรถตัดหญ้า สร้างรถฉีดพ่นยา เรือรถน้ำต้นไม้ เป็นต้น แนะนำระบบโซล่าเซลล์ DIY โปรเจคขนาดเล็ก เป็นต้น ตัวอย่างคลิปมีดังนี้
ความเห็นของผู้เขียน : คลิปโดยส่วนใหญ่เกิดจากเจ้าของช่องอยากสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา โดยใช้ไลฟ์สไตล์กึ่งเกณษกรเป็นที่ตั้ง โดยไม่ได้อ้างอิงเทรนของเทคโนโลยี ณ ขณะนั้นมากนัก ในหลาย ๆ คลิปเกี่ยวข้องกับการทำสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำการเกษตร เน้นไปทางสิ่งที่เคลื่อนที่ได้โดยผู้ชมไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานมาก่อน
ช่องแนะนำขั้นตอนการสร้างโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์ประเภทอัจฉริยะ (Smart Home, IoT) การเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์ การสร้างเครื่องมือแบบ DIY การใช้งาน 3D Printer เป็นต้น ตัวอย่างคลิปมีดังนี้
Arduino IOT Project - DIY เครื่องให้อาหารสุนัขจาก 3D Printer + ESP8266 + Relay +Blynk APP
เริ่มใช้ Blynk Library ให้ถูกต้อง ลดBug ลดError ได้99% มือใหม่ต้องดู!! Arduino,ESP8266,IOT
3D Printer ทำอะไรได้บ้าง? ตอนสร้างรถของเล่น Mini Skid Loader จากเครื่องพิมพ์สามมิติ
มินิรีวิว Anycubic Photon S เครื่องพิมพ์สามมิติ ชนิด Resin (MSLA) By DIY of Things
Review Hakko Presto 980F หัวแร้ง "คุณภาพ" จากแบรนด์ "ระดับโลก" ราคาหลัก "ร้อย!!"
ความเห็นของผู้เขียน : คลิปเน้นไปทางการทำโปรเจค Arduino, IoT การเขียนโปรแกรม โดยผู้ชมคลิปจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์ และการเขียนโปรแกรมระดับหนึ่ง
ช่องต่างประเทศ
ช่องที่เรียกความสนใจด้วย "ความเซ็กซี่" ประกอบกับเนื้อหาคลิปรีวิวเครื่องมือ DIY ต่าง ๆ เช่น เครื่องปริ้น 3 มิติ เครื่องตัดเลเซอร์ ไขควงไฟฟ้า เป็นต้น คลิปพาเที่ยวงานอีเว้นท์ Maker ต่าง ๆ ทั่วโลก พาทัวโรงงาน คลิปไลฟ์สไตล์ กิน เที่ยว ตัวอย่างคลิปมีดังนี้
Ban Mo- Bangkok's Akihabara, Electronic Parts Paradise! (พาชมบ้านหม้อ)
Creality LD-002R SLA Resin 3D printer- Review and Unboxing! (รีวิวเครื่องปริ้น 3 มิติ แบบเรซิ่น ยี่ห้อ Creality รุ่น LD-002R)
Chinese PCB Factory in 360º VR! Courtesy JLCPCB (พาทัวโรงงานผลิต PCB)
ความเห็นของผู้เขียน : ช่อง Naomi 'SexyCyborg' Wu เป็นช่องที่เรียกเสียงฮือฮาได้เสมอ คนที่ไม่ได้เป็น Maker หรือไม่ได้สนใจงานด้านอิเล็กทรอนิกส์มาก่อน เมื่อเข้ามาดูช่องนี้จาก "ความเซ็กซี่" ก็อาจต่อยอดไปศึกษา สนใจงานด้าน Maker ในอนาคตได้ เนื้อหาในช่องเป็นแบบเบาสมอง ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานก็ดูได้
ช่องนำเสนอโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก โดยมีทั้งประเภทโปรเจคอัจฉริยะ (ต้องเขียนโปรแกรม) โปรเจคจัดการพลังงาน เช่น DIY พาวเวอร์แบงค์, ระบบโซล่าเซลล์, ผลิตไฟจากกังหันลม, ทดสอบไอซีชาร์จแบตเตอรี่, DIY บอร์ด BMS (Battery Management system) เป็นต้น ตัวอย่างคลิปที่ผู้เขียนให้ความสนใจมีดังนี้
Mini Wind Turbine || DIY or Buy (กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก | ซื้อหรือทำเอง)
How to do SMD Reflow Soldering properly! || Hot Air VS Sand VS Reflow Oven (การบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบ SMD ด้วยเทคนิค เครื่องเป่าลมร้อน, ทราย, Reflow Oven)
DIY ESP32 AC Power Meter (with Home Assistant/Automation Integration) (การสร้างเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าด้วย ESP32)
Easy & Powerful Arduino Alternative? #3 Teensy Beginner's Guide (รีวิวบอร์ด Teensy)
ความเห็นของผู้เขียน : ช่อง GreatScott! เน้นนำเสนอโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย, พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ และพื้นฐนทางไฟฟ้า ในหลาย ๆ โปรเจคที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า มักจะอ้างอิงกับระบบของเยอรมัน (ประเทศของเจ้าของช่อง) ดังนั้นคลิปสอนเดินสายไฟ คลิปที่สอนที่เกี่ยวกับระบบไฟบ้าน อาจไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้โดยตรง ผู้ชมช่องนี้ควรมีความรู้พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ทำความเข้าใจคลิปได้เร็วขึ้น
ช่องอิเล็กทรอนิกส์จ๋า ที่นำเสนอการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ สอนพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ รีวิวเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ วิจารณ์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในระดับเทคนิคการออกแบบ ตัวอย่างคลิปมีดังนี้
EEVblog 1428 - Sony RX100 IV Camera Repair and then WTF! (ซ่อมกล้อง Sony RX100 IV)
EEVblog 1423 - Flaming Magic Repair Smoke! (ซ่อมบอร์ดขับหลอด LED)
EEVblog 1422 - CAUSE of the Tesla Victoria Big Battery Fire (วิจารณ์ข่าวแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ของ Tesla ไฟไหม้)
EEVblog 1445 - How to Simulate an Oscilloscope Probe in LTSPICE (สอนใช้สโคปในระบบซิมโปรแกรม LTSPICE)
ความเห็นของผู้เขียน : ช่องนี้ให้ความรู้ค่อนข้างหลากหลาย เจ้าของช่องพูดเร็ว จำเป็นต้องมีความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์จึงจะชมคลิปได้เข้าใจ
สอนพื้นฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวงจร โดยใช้ภาพ 3 มิติ ตัวอย่างคลิปมีดังนี้
Basic Transformer Calculations (การคำนวณรอบการพันหม้อแปลง)
Servo Motor, what's inside? ( ส่วนประกอบและหลักการทำงานของเซอร์โวมอเตอร์)
3 Phase Inverter Basics - Working Principle (หลักการทำงานของเครื่องอินเวอร์เตอร์ไฟ 3 เฟส)
How to Use SMD LEDs in Your Electronics Projects (การใช้งานหลอด LED แบบ SMD)
Capacitor discharge time - how to calculate with examples (การคำนวณเวลาคลายประจุของตัวเก็บประจุ)
ความเห็นของผู้เขียน : ช่องนี้ทำคลิปสอนได้เข้าใจง่ายมาก เนื่องจากใช้ภาพอนิเมชั่น ประกอบกับภาพ 3 มิติเพื่ออธิบายขั้นตอนการทำงานของสิ่งต่าง ๆ ทำให้เห็นภาพได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์มากนัก ก็สามารถดูคลิปได้เข้าใจ
ช่องนำเสนอโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์แบบ DIY ประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ตั้งแต่ขั้นทำ Prototype ไปจนถึงออกแบบ PCB, สอนเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์, นำเสนอการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน นำเสนอการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ตัวอย่างคลิปมีดังนี้
Voice Recognition Raspberry PI and Arduino UART communication (ทำระบบรู้จำเสียงด้วย Raspberry PI และ Arduino)
EEPROM Memory - Store Anything - Arduino101 (การใช้งาน EEPROM ในแพลตฟอร์ม Arduino)
PERFECT Details With Elegoo Saturn 2 - 8K Resin 3D Printer (รีวิวเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบเรซิ่น)
Homemade Cat Feeder - 3D Printed & Arduino Control (ทำเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติ)
ความเห็นของผู้เขียน : ช่องนี้มักนำเสนอโปรเจคประเภทอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะได้น่าสนใจหลายโปรเจค บางโปรเจคยังไม่ค่อยมีใครทำ ทำให้เป็นไอเดียร์ให้นำมาพัฒนาต่อได้ เทคนิคการถ่ายทำ การนำเสนอ การบรรยายน่าสนใจ เข้าใจได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์มากนักก็เข้าใจได้
ช่องนำเสนอเนื้อหาการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์เชิงลึก นำเสนอทำโปรเจคยาก ๆ ที่ยังไม่ค่อยมีใครทำมาก่อน ตัวอย่างคลิปที่น่าสนใจมีดังนี้
AM Radio Transmitter on ESP32 (การส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ AM ด้วย ESP32)
DIY LED Video Wall made in 24 hours (ทำหน้าจอ LED ขนาดใหญ่ภายใน 24 ชั่วโมง)
My New Pick & Place Machine [Liteplacer] (การสร้างเครื่องวางอุปกรณ์ SMD)
Coding a Sound Driver on the ESP32 ULP (การเขียนโปรแกรมขับเสียงด้วย ULP ใน ESP32)
Oscilloscope as a Display (ESP32, DAC, 3D, Camera) (การใช้สโคปเป็นหน้าจอแสดงผลรูปภาพจากกล้องด้วย ESP32)
ความเห็นของผู้เขียน : ช่องนี้สอนเขียนโปรแกรมเชิงลึกมาก โปรเจคอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเสนอล้วนต้องใช้ทักษะด้านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการเขียนโปรแกรมขั้นสูง ส่วนตัวผู้เขียนดูเพื่อความตื่นตาตื่นใจเพียงอย่างเดียว เนื่องจากสามารถทำตามได้ยากมาก เนื้อหาในช่องนี้จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานระดับหนึ่งจึงจะเข้าใจเนื้อหาของคลิป
(แถม) ช่องขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
โดยแต่ละช่องจะนำเสนอสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ นำเสนอวิธีใช้ และมักอัพโหลดคลิปความรู้ต่าง ๆ ให้ผู้ติดตามได้เรียนรู้ได้ฟรี
บริษัท ฯ ผลิต-จำหน่าย โมดูลอิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ ชื่อดังจากอเมริกา นอกจากในช่องจะอัพเดทสินค้าใหม่ ๆ แล้ว ยังมีคลิปสอนพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์มากมาย เช่น Collin's Lab Notes Collin's Lab, Circuit Skills, & Make Presents เป็นต้น
บริษัท ฯ ผลิต-จำหน่าย โมดูลอิดล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ นอกจากวีดีโอรีวิวสินค้าใหม่ ๆ ยังมี Playlist ให้ความรู้อย่าง Adventures in Science! อีกด้วย
บริษัท ฯ ตัวแทนจำหน่าย Electronics Component เช่น ตัวต้านทาน ไอซี ตัวเก็บประจุ ไดโอด เป็นต้น ในช่องมักอัพโหลดคลิปนำเสนอไอเดียร์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ หรือเทรนทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอัพโหลดคลิปสอนใช้งาน Arduino, IoT, AI, RTOS และพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ อัพโหลดเป็นระยะ ๆ อีกด้วย
ฝากช่อง GLAB และช่องในครือ
ติดตามช่อง GLAB ได้ที่ https://www.youtube.com/channel/UCYgB9Wj-CiRqf8pCuvomaCA โดยทางช่องจะทยอยอัพโหลดคลิปความรู้ คลิปทัวสถานที่ต่าง ๆ เรื่อย ๆ ฝากคุณผู้อ่านกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ GLAB ต่อไป
ติดตามช่อง GravitechThai ได้ที่ https://www.youtube.com/@Gravitechthai อัพโหลดคลิปการใช้งานสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และอัพเดทความเคลื่อนไหวของบริษัท ฯ
ฝากสุดยอดคอร์สอบรมสำหรับองค์กรพัฒนาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาซอฟแวร์สมองกลฝังตัว
💡รู้ลึก รู้จริง ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของระบบสมองกลฝังตัวแบบมือโปร ด้วยเครื่องมือระดับโลกอย่าง PlatformIO ประกอบกับระบบการจัดการและบริหารการพัฒนาโค้ดด้วย Git ทำให้ทุกขั้นตอนของการพัฒนาโครงสร้างซอฟต์แวร์ในองค์กร เป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 💡 อ่ารายละเอียดได้ที่ https://www.facebook.com/GravitechThai/photos/a.187491241435936/2153205094864531/
Comments