คำเตือน : บทความนี้เขียนขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์ของผู้เขียนเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้อ่านบางท่านท้วงติเรื่องการขาดรายละเอียดและประเด็นสำคัญบางจุด ผู้อ่านโปรดพิจารณาเลือกศึกษาเอกสารทางวิชาการอื่น ๆ ที่เชื่อถือได้ประกอบ (ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะปรับปรุงในโอกาศต่อไป)
การลดแรงดันไฟฟ้าทำได้ทั้งการใช้ตัวต้านทาน ซีเนอร์ไดโอด และไอซี ปัจจุบันการลดแรงดันไฟฟ้ามักใช้ไอซีในการลดแรงดัน เนื่องจาก 1) วงจรง่าย 2) ราคาถูก 3) แรงดันเอาต์พุตคงที่ 4) ขนาดวงจรโดยรวมเล็ก อย่างไรก็ตามไอซีที่ใช้ควบคุมแรงดันยังแบ่งได้ 2 ชนิดตามหลักการทำงาน คือ แบบลิเนียร์ (Linear Regulator) และสวิตชิ่ง (Switching Regulator) สำหรับไอซีควบคุมแรงดันแบบแบบลิเนียร์มี 2 ชนิด คือ Linear Voltage Regulator และ LDO (Low-dropout regulator) ในบทความนี้จะพูดถึงความแตกต่างระหว่างไอซีแบบลิเนียร์ทั้ง 2 ชนิดนี้ และตัวอย่างการใช้งาน
Linear Voltage Regulator
เป็นไอซีลดแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของไอซี ภายนอกประกอบด้วย 3 ขา คือ 1) INPUT 2) GND 3) OUTPUT วงจรภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์หลายตัวต่อเป็นวงจรเพื่อควบคุมแรงดันให้คงที่ รองรับแรงดันเข้าได้กว้าง ส่วนใหญ่รับได้สูงสุดถึง 30V มีแรงดันตกคร่อมภายในตัวสูง ตัวอย่างไอซี Linear Voltage Regulator ที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน เช่น L7805, 7812, 7915, LM317 เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้งาน L7805 แสดงดังรูปด้านล่าง ด้านไฟเข้า-ออก มีตัวเก็บประจุทำหน้าที่เป็นวงจรกรองสัญญาณ ทำให้แรงดันอินพุต-เอาต์พุตเรียบขึ้น
ไอซี Linear Voltage Regulator มักใช้ในวงจรที่ใช้กระแสไฟฟ้าต่ำ เนื่องจากหลักการทำงานคือการสะสมแรงดันส่วนเกินไว้ภายในและแปลงเป็นพลังงานความร้อน โดยความร้อนที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างแรงดันอินพุต-เอาต์พุต และกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ส่วนใหญ่หากเลือกใช้ Linear Voltage Regulator จำเป็นจะต้องติดตั้งฮีตซิ้ง
LDO (Low-dropout regulator)
เป็นไอซีลดแรงดันไฟฟ้าที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน ภายนอกมีลักษณะเหมือนกับ Linear Voltage Regulator ประกอบด้วยขา 3 ขา คือ 1) INPUT 2) GND 3) OUTPUT วงจรภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ทำงานในโหมดขยายสัญญาณ โดยตัวทรานซิสเตอร์จะถูกควบคุมด้วยออปแอมป์ รองรับแรงดันเข้าได้น้อยกว่า Linear Voltage Regulator มีแรงดันตกคร่อมภายในต่ำ (Low-dropout) ตัวอย่างไอซี LDO ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น 1117-5.0, 1117-3.3 และกลุ่มไอซีตัวถัง SOT-23-5 เช่น AP2112K-3.3, MIC5219-3.3, BU33SD5WG เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้งานไอซี LDO แสดงดังรูปที่ 7 ประกอบด้วยฝั่งไฟเข้า (VIN) และฝั่งไฟออก (VOUT) ตัวเก็บประจุฝังไฟออกทำหน้าที่ช่วยกรองให้แรงดันไฟฟ้าเรียบขึ้น ขาที่ 3 (EN) ใช้สั่งเปิด-ปิดการทำงาน โดยปกติขา 3 จะต่อร่วมกับขา 1 (VIN) เพื่อให้ไอซีทำงานและมีไฟออกตลอดเวลา
ไอซี LDO มักใช้ในวงจรที่ใช้กระแสไฟฟ้าต่ำ แรงดันไฟเข้าและไฟออกไม่แตกต่างกันมาก (หรือหวังผลแรงดันด้านอินพุต-เอาต์พุตไม่ต่างกัน) ความร้อนต่ำ ขนาดเล็ก
LDO vs Linear Voltage Regulator
ความแตกต่างสามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้ประเด็นสนใจ
ตัวอย่างงานที่นิยมเลือกใช้ LDO ได้แก่
งานที่ใช้กระแสไฟฟ้าต่ำ (มักไม่เกิน 500mA)
งานที่หวังผลให้แรงดันเข้าใกล้เคียงหรือเท่ากับแรงดันออกก็ยังสามารถทำงานได้ เช่น งานที่ใช้แบตเตอรี่ ต่อให้แบตเตอรี่เหลือน้อยที่ 3.3V ก็ยังมีแรงดันเอาต์พุตออกให้วงจรยังทำงานได้
งานที่เน้นขนาดเล็ก (ตัวถังเป็น SMD)
งานที่ใช้แรงดันอินพุตไม่สูงมากและคงที่ อยู่ในช่วงประมาณไม่เกิน 12V
ตัวอย่างงานที่นิยมใช้ Linear Voltage Regulator ได้แก่
งานที่ใช้กระแสไฟฟ้าสูง (ตั้งแต่ประมาณ 1A ขึ้นไป)
งานที่แรงดันอินพุตกับเอาต์พุตต่างกันมาก (ต่างกันอย่างน้อย 2V) เมื่อแรงดันอินพุตต่ำมากยอมให้วงจรไม่ทำงานได้
งานที่ไม่เน้นขนาดเล็ก มีพื้นที่พอสำหรับฮีตซิ้ง (ตัวถังมักเป็นแบบมีขา)
งานที่รองรับแรงดันอินพุตได้กว้าง ตั้งแต่ประมาณ 24V, 12V
มุมมองด้านราคา
ราคาของ LDO และ Linear Voltage Regulator ถือว่าไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสเปค เบอร์ และโรงงานผู้ผลิต
Comments